
นับตั้งแต่ปี 2475 ที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยก็เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองสำคัญต่างๆขึ้นมากมาย เรามาลองไล่ลำดับกันดูดีกว่าว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นมาบ้างคะ
- กบฎบวรเดช (พ.ศ.2476) ผู้นำคือ พลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และพระยาศรีสิทธิสงคราม (ถิ่นท่าราบ) วัตถุประสงค์เพื่อล้มล้างการปกครอบระบบประชาธิปไตยแล้วนำประเทศกลับเข้าสู่การปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อีกครั้ง ซึ่งในการปฏิวัติครั้งนี้ล้มเหลว สุดท้ายฝ่ายก่อกบฎก็ถูกรัฐบาลปราบปรามสำเร็จ
- รัฐประหาร (พ.ศ.2490) ผู้นำคือ พันเอกหลวงกาจสงครามและพลโทผิน ชุณหะวัน วัตถุประสงค์จากกรณีสวรรคตของร.8 และปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง จากการรัฐประหารครั้งนี้ส่งผลให้จอมพลป.พิบูลย์สงครามกลับมามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง
- รัฐประหาร (พ.ศ 2551) ผู้นำคือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ วัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการรุกลามของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในยุคนั้นทำให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบอบเผด็จการอำนาจนิยม
- วันมหาวิปโยค (14 ต.ค.2516) ผู้นำคือ ประชาชน นิสิต นักศึกษา วัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านอำนาจเผด็จการของทหารที่เข้าครอบงำและจำกัดสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน ส่งผลทำให้ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองมากขึ้นและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญพ.ศ.2517
- เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ผู้นำคือ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ วัตถุประสงค์อ้างว่านักศึกษาที่เป็นผู้นำในการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 ตุลา 16 ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ ทำให้ระบอบประชาธิปไตยถูกทำลายขึ้นอีกครั้งแล้วนำประเทศกลับเข้าไปสู่การปกครองแบบเผด็จการอำนาจนิยมอีกครั้ง สภาพการเมืองขาดเสรีภาพ เกิดความแตกแยกอย่างรุนแรง
- รัฐประหาร (พ.ศ.2534 รสช.) ผู้นำคือ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์, พลเอกสุจินดา คราประยูร, พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล วัตถุประสงค์เพื่อจัดการการฉ้อราษฎร์บังหลวงของคณะรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
- พฤษภาทมิฬ (17-19 พ.ค.2535) ผู้นำคือ ประชาชน นักเรียน นักศึกษา การชุมนุมนี้เกิดขึ้นจากการที่ประชาชนต้องการต่อต้านการเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา คราประยูร ทำให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดมีผู้คนเสียชีวิตและสูญหายเป็นจำนวนมาก
เหตุการณ์ทั้งหมดที่นำมาไล่เรียงกันนี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนในประเทศ ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดเสถียรภาพทางการเมือง ในแต่ละครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลก็จะมีฝ่ายที่ไม่พอใจเกิดการแก่งแย่งชิงอำนาจด้วยการใช้กำลังซึ่งนำมาสู่การเกิดจลาจลขึ้นในหลายครั้งสุดท้ายก็จบลงที่การรัฐประหารของฝ่ายทหารวงเวียนอย่างหาจุดจบไม่ได้ซะทีคะ