
หลายคนคงจะทราบว่าวันที่ 14 ตุลาของทุกปีเราชาวไทยจะถือกันว่าเป็นวันประชาธิปไตยเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญเมื่อครั้นวันที่ 14 ตุลาคม 2516 เมื่อเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย คือการที่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน ทั้งในเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัดกว่าแสนคน เดินขบวนเรียกร้องต่อสู่เพื่อประชาธิปไตยและคัดค้านอำนาจเผด็จการของรัฐบาลคณาธิปไตย สมัยของ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร, จอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประพาส จารุเสถียร โดยมีสาเหตุมาจากการที่ต้องการขับไล่กลุ่มเผด็จการทรราชออกจากอำนาจที่มีการยึดครองมาหลายสมัย รวมทั้งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนิสิต นักศึกษา อาจารย์ และนักการเมือง 13 คนที่ถูกจับในฐานที่เรียกร้องรัฐธรรมนูญ แต่กลับถูกรัฐบาลตั้งข้อหากระทำผิดกฎหมาย ทำลายความมั่นคงของชาติ ตั้งตัวเป็นกบฎภายในราชอาณาจักรและมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ จากนั้นรัฐบาลก็ใช้กำลังอำนาจของทหารและตำรวจเข้าปราบปรามผู้ชุมนุม โดยมีการใช้อาวุธหนักทั้งรถถัง เฮลิคอปเตอร์ และแก๊สน้ำตา ยิ่งใส่ผู้ชุมนุมอย่างไรเมตตาธรรม จนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นจำนวนมาก จนได้รับการขนานนามว่าเป็นวัน “มหาวิปโยค”ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ผ่านมา 19 ปีให้หลังประวัติศาสตร์ก็กลับมาซ้ำรอยเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 ได้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า “พฤษภาทมิฬ” (Black May) ในครั้งนี้มีนักศึกษาและประชาชนราว 500,000 คน ไปร่วมชุมนุมกันที่ท้องสนามหลวงตั้งแต่เวลาประมาณ 15.00 น. เพื่อเรียกร้องให้ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ก็ได้รับการปฎิเสธพร้อมทั้งมีการตอบโต้กันอย่างดุเดือดทั้งฝ่ายของรัฐบาลกับผู้ชุมนุมไม่ว่าจะเป็นนำน้ำจากคลองรอบกรุงฉีดใส่ผู้ชุมนุนจนมาถึงขั้นการนำรถหุ้มเกราะเข้าสลายการชุมนุมด้วยการระดมยิงผู้ชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศไปถึงหน้ากรมประชาสัมพันธ์และโรงแรงรัตนโกสินทร์ เป็นเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปหลายร้อยคน ยังไม่นับผู้สูญหายและบาดเจ็บอีกจำนวนมากที่ปัจจุบันยังหาผู้สูญหายรวมทั้งศพของผู้เสียชีวิตไม่พบ ส่วนผู้รอดชีวิตบางส่วนได้ย้ายไปชุมนุมกันต่อที่หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง จนกระทั่งวันที่ 20 พฤษภาคม พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้นำ พล.ต.จำลอง และ พล.อ.สุจินดา เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เหตุการณ์จึงกลับมาสงบท่ามกลางความโล่งใจของประชาชนชาวไทย
จากเหตุการณ์ทางการเมืองทั้งสองเหตุการณ์นี้ทำให้เราเห็นว่า ประวัติศาสตร์การเมืองไทยยังคงไม่ถึงขั้นประชาธิปไตยได้อย่างเต็ม 100% เพราะเมื่อเกิดความขัดแย้งหรือเห็นต่างทางการเมืองก็จะมีการปลุกระดมและขับไล่ซึ่งหลังจากสองเหตุการณ์นี้แล้วก็ยังคงมีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นตามมาอีกหลายครั้งคะ